วิจัย เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์
Construction of activity packages to develop science process skills for preschool children
ผู้แต่ง จุฑามาศ เรือนก๋า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีการศึกษา 2553
ผู้แต่งร่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา
Abstract (บทคัดย่อ)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี่คือ นักเรียนชั้นอนุบาลที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน เชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 20 ชุด ใช้เวลาชุดละ 1 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 25 ข้อ
ความเป็นมาและความสำคัญ
จากสภาพปัจจุบัน การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากกระบวนการคิด เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพสูง เนื่องจากการสอนปัจจุบันเน้นการสอนแบบเนื้อหาและการท่องจำ มากกว่าการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ผู้เรียนไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทำหใ้ผู้เรียนไม่สามารถคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง และครูปฐมวัยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก และไม่ให้ความสำคัญในวิชาวิทยาศาสตร์เพราะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
จากสภาพดังกล่าว ผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เเละความสำคัญของชุดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ สำรวจ ทดสอง และมีปฏิสัมพันธูกับสิ่งแวดล้อง จึงเกิดความคิดที่จะสร้างชุดกิจกรรมและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถกระบวนการทางวิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ความเป็นมาและความสำคัญ
จากสภาพปัจจุบัน การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากกระบวนการคิด เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพสูง เนื่องจากการสอนปัจจุบันเน้นการสอนแบบเนื้อหาและการท่องจำ มากกว่าการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ผู้เรียนไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทำหใ้ผู้เรียนไม่สามารถคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง และครูปฐมวัยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก และไม่ให้ความสำคัญในวิชาวิทยาศาสตร์เพราะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
จากสภาพดังกล่าว ผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เเละความสำคัญของชุดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ สำรวจ ทดสอง และมีปฏิสัมพันธูกับสิ่งแวดล้อง จึงเกิดความคิดที่จะสร้างชุดกิจกรรมและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถกระบวนการทางวิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตการศึกษา
1.กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 / 2552 โรงเรียนบ้านหลวงอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 35 คน
2.เนื้อหา ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด และทักษะการหามิติสัมพันธ์ ครอบคลุมเนื้อหา 5 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
- สัตว์เลี้ยงแสนดี เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ที่อยู่อาศัย เเละ อาหารของสัตว์เลี้ยง
- ผลไม้น่าทาน เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ประดยชน์และวิธีรับประทาน
- ดอกไม้แสนสวย เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีดูแลรักษา
- ต้นไม้เพื่อนรัก เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชนและวิธีดูแลรักษา
- วิทยาศาสตร์น่ารู้ เนื้อหาเกี่ยวกับ สสาร อากาศ การลอย-จม เเละแม่เหล็ก
เครื่องมือที่ใช้
1.ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัครอบคลุมเนื้อหารแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 5 หน่วย
2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะซึ่งเป็นคำถามมีลักกษณะ เป็นรูปภาพ 4 ชุด 25 ช้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.ดำเนินตามแผนการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง
2.หลังจากดำเนินการจัดกิจกรรมทั้ง20 ชุด ให้ทำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำนวน 4 ชุด
สรุปผลการศึกษา
1.ได้ใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเมหาะสม
2.ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนักเรียนได้คะเเนนเฉลี่ยร้อยละ 90.40 ซึ่งศุงกว่าเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 60.00
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น