วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 25 / 08 / 58 ครั้งที่ 3

Learning  ( เนื้อหาที่เรียน )


  • Cognative Development ( พัฒนาการางสติปัญญา )

 ความหมาย ความเจริญงอกงามด้านความสาสมารถทางปัญญา ภาษา และการคิดของแต่ละบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

  • Interaction ( กระบวนการปฏิสัมพันธ์ )
      1. Assimilation ( กระบวนการดูดซึม )

- fitting a new experience into an exisiting mental structure
-เมื่อมุนษมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็จะดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าไปอยู่ในโครงสร้างสติปัญญา

      2. Accommodation ( กระบวนการปรับโครงสร้าง)

- คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้าสิ่งแวดล้อม หรือ ประสบการณ์ใหม่ เพ่อให้อยู่รอด
    
Knowledge  (ความรู้ที่ได้รับ)

       จากเนื้อหาข้างต้น สรุปได้ว่า สติปัญญาเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกกรมจนเข้าสู่ภาวะสมดุล วิธีการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactions) เช่น การสังเกต การสัมผัส การฟัง สูดดม เครื่องมือที่ใช้คือ อวัยวะในร่างการของเรา เช่น การสังเกต ครื่องมือที่ใช้คือ ตา  การฟัง เครื่องมือที่ใช้คือ หู เป็นต้น

Skills ( ทักษะที่ได้ )

1. Listening Skills
2. Answering and asking questions Skills

Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )

1. Power point 
2. Open-ended questions 

Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )

     นำไปเป็นแนวทางพัฒนาการทางสติปัญญา และส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญา ให้สอดค้อง เพื่อที่จะสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง

Evaluation ( การประเมิน )

     Teacher  การใช้น้ำเสียงมีโทนเสียง หนักเบา ชัดเจน ใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด ในการตอบได้กว้าง แต่งกายเรียบร้อย
    
     Students  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถาม

     classroom  เนื่องจากวันนี้นั่งเรียนกับพื้นจึงทำให้ไม่สะดวกในการเรียน




บันทึกอนุทินประจำวันที่ 17 / 08 / 58 คั้งที่ 2

สรุบบทความ

5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล


      ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญ แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนคือสิ่งที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

      ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า"แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

     ดร.เทพกัญญา ได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
       
       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
       
       2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
       
       3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
     
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

* สำหรับข้อ 5 นั้นในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป        

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิจัย เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์

Construction of activity packages to develop science process skills for preschool children

ผู้แต่ง   จุฑามาศ   เรือนก๋า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีการศึกษา  2553
ผู้แต่งร่วม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา   

Abstract  (บทคัดย่อ)

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี่คือ นักเรียนชั้นอนุบาลที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552  โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน เชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 20 ชุด ใช้เวลาชุดละ 1 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 25 ข้อ 

  ความเป็นมาและความสำคัญ
          จากสภาพปัจจุบัน การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากกระบวนการคิด  เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพสูง เนื่องจากการสอนปัจจุบันเน้นการสอนแบบเนื้อหาและการท่องจำ มากกว่าการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ผู้เรียนไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทำหใ้ผู้เรียนไม่สามารถคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง และครูปฐมวัยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก และไม่ให้ความสำคัญในวิชาวิทยาศาสตร์เพราะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
         จากสภาพดังกล่าว ผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เเละความสำคัญของชุดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ สำรวจ ทดสอง และมีปฏิสัมพันธูกับสิ่งแวดล้อง จึงเกิดความคิดที่จะสร้างชุดกิจกรรมและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถกระบวนการทางวิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์
        1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทา
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตการศึกษา
        1.กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 / 2552 โรงเรียนบ้านหลวงอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 35 คน
        2.เนื้อหา ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด และทักษะการหามิติสัมพันธ์ ครอบคลุมเนื้อหา 5 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
  1. สัตว์เลี้ยงแสนดี เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ที่อยู่อาศัย เเละ อาหารของสัตว์เลี้ยง
  2. ผลไม้น่าทาน เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ประดยชน์และวิธีรับประทาน
  3. ดอกไม้แสนสวย เนื้อหาเกี่ยวกับ ชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีดูแลรักษา
  4. ต้นไม้เพื่อนรัก เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชนและวิธีดูแลรักษา
  5. วิทยาศาสตร์น่ารู้ เนื้อหาเกี่ยวกับ สสาร อากาศ การลอย-จม เเละแม่เหล็ก
เครื่องมือที่ใช้
        1.ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัครอบคลุมเนื้อหารแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 5 หน่วย
        2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะซึ่งเป็นคำถามมีลักกษณะ เป็นรูปภาพ 4 ชุด 25 ช้อ
 
การเก็บรวบรวมข้อมูล
        1.ดำเนินตามแผนการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง
        2.หลังจากดำเนินการจัดกิจกรรมทั้ง20 ชุด ให้ทำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำนวน 4 ชุด 
 
สรุปผลการศึกษา
        1.ได้ใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเมหาะสม 
        2.ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนักเรียนได้คะเเนนเฉลี่ยร้อยละ 90.40 ซึ่งศุงกว่าเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 60.00








  


                

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 11 / 8 / 2558 ครั้งที่ 1

Learning  ( เนื้อหาที่เรียน )

     แนะนำรายวิชา และ อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน

     การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.Aim (จุดมุ่งหมาย) คุณสมบัติของบัณฑิต 6 ด้าน 
    1.1 Knoeledge ( ความรู้ )
    1.2 Moral  ( คุณธรรม ) 
    1.3 Cogmative Skills ( ทักษะทางปัญญา )
    1.4 Technology Skills ( ทางเทคโนโลยี )
    1.5 Socail Skills ( ทักษะทางสังคม )
    1.6 Learning Management ( การจัดการเรียนรู้ )

2. Keywords in subject 

    1. Experience Management (การจัดประสบการณ์)  จัดให้เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
        
        1.1 ด้านความคิด 
              1.1.1 ภาษา
              1.1.2 ความคิด - ความคิดสร้างสรรค์
                                      - ความคิดเชิงเหตุผล - คณิตศาสตร์
                                                                        - วิทยาศาสตร์
        1.2 การเรียนรู้  คือ การที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้

หมายเหตุ 
  • พัฒนาการ  คือความสามาถของพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
  • ภาษาและคณิตศาสตร์  คือเครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • การเรียนรู้  คือ การลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
     2. Science ( วิทยาศาสตร์ )
         2.1 สาระสำคัญ 4 ด้าน 
               2.1.1 ความรู้เกียวกับตัวเด็ก
               2.1.2 ความรู้เกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมรอบตัวเด็ก
               2.1.3 ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
               2.1.4 สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

         2.2 ทักษะทางวิทยาศาตร์  
               2.2.1 ทักษะการสังเกต
               2.2.2 ทักษะการจะแนกประเภท
               2.2.3 ทักษะการสื่อความหมาย
               2.2.4 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
               2.2.5 ทักษะการหาความสัมพันธ์ ระหว่าง สเปสกับสเปส สเปสกับเวลา
               2.2.6 ทักษะการคำนวน

   3. Principles of  experience ( หลักการจัดประสบการณ์ )

  • หลักการจัดประสบการ์
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์
  • หลักกระบวนการการจัดประสบการณ์
  • ทฤษฎีการจัดประสบการ
  • สื่อและสภาแวดล้อมการจัดประสบการณ์
  • หลักการการประเมิน
Knowledge  (ความรู้ที่ได้รับ)

        เนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาจะมี คำสำคัญๆ อยู่ 3 คำ คือ การจัดประสบการณ์  วิทยาศาสตร์ และ เด็กปฐมวัย ซึ่ง 3 คำนี้ จะบ่งบอกเลยว่า วิทยาศาสตร์ ที่เราหมายถึง คือวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กในวัยอนุบาล ซึ่งจะมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างไปกับการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบเด็กประถมหรือมัธยม
ซึ่งเครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของเด็กในวันอนุบาล ได้แก่ ภาษา เเละ คณิตศาสตร์ และการลงมือปฏิบัติจริงโดยให้เด็ก ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

Skills ( ทักษะที่ได้ )

1. Listening Skills
2. Answering and asking questions Skills

Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )

1. Power point 
2. Open-ended questions 

Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )

      สามารถนำเนื้อหาที่ได้รับในครั้งนี้ไปเป็นความรู้พื้นฐานและความรู้ประกอบในการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการเรียน ในชั่วโมงต่อไป 

Evaluation ( การประเมิน )
     Teacher  การใช้น้ำเสียงมีโทนเสียง หนักเบา ชัดเจน ใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด ในการตอบได้กว้าง แต่งกายเรียบร้อย
    
     Students  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถาม